คำแนะนำในการเพิ่มข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

 
 

 

  1. คลิกที่นี่  เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่า มีข้อมูลของสำนักฯ นั้น อยู่บ้างแล้วหรือไม่ 
     
  2. แล้ว คลิกที่นี่  เพื่อเพิ่ม/แก้ไขข้อมูล    (ถ้ายังไม่ได้ลอกอินเข้าระบบ ให้ลอกอินก่อน - สมัครสมาชิกที่นี่)

*  ถ้าท่านต้องการเพิ่มเติม/แก้ไข ข้อมูลเพียงเล็กน้อย  อาจใช้วิธีเขียนในช่องแสดงความคิดเห็น ท้ายหน้าของสำนักปฏิบัติธรรมนั้นๆ ได้เลย

 

โ ป ร ด อ่ า น ข้ อ ค ว า ม ด้ า น ล่่ า ง นี้ ก่ อ น  


ผู้ที่สามารถเพิ่มข้อมูลได้

    - ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสำนักปฏิบัติธรรมนั้นๆ
    - อาสาสมัครเว็บ ศปท.
    - ทีมงานเว็บ ศปท.
    - บุคคลทั่วไป

ประเภทสำนักปฏิบัติธรรม ในเว็บ ศปท. แห่งนี้ ได้แบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท คือ
   1. วัด-ประจำจังหวัด (วัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด)
   2. วัด-ไม่ประจำจังหวัด (วัดที่มีการอบรมปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ  แต่ยังไม่ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด)
   3. สำนักสงฆ์ (ที่มีการอบรมปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ)
   4. สถานที่ปฏิบัติธรรม (นอกเหนือจาก 3 ประเภทข้างต้น ไม่มีพระอยู่ประจำ ดำเนินการโดยภิกษุณี แม่ชี ฆราวาส)

หมายเหตุ

  • วัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทุกแห่ง* ในเว็บนี้มีข้อมูลทะเบียนเบื้องต้นของสำนักฯ เหล่านี้อยู่แล้ว 
    คือ ชื่อวัด เจ้าสำนัก ที่อยู่ โทรศัพท์ (มีข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ เฉพาะวัดในเขตกรุงเทพฯ) นิกาย
    เป็นสำนักฯ แห่งที่เท่าไร ในการประชุม มส. ครั้งที่เท่าไร  แต่ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
    (* มีจำนวน 1510 แห่ง
    และมีจำนวน 1512 แห่ง  ตามข้อมูลของเว็บสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ - 1 พ.ค.55)
  • ส่วนอีก 3 ประเภทที่เหลือ   ยังไม่มีข้อมูลใดๆ (ยกเว้นบางแห่งที่ทางเว็บฯ ได้เพิ่มข้อมูลไว้เป็นตัวอย่างบ้าง)

การเพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

  1. คลิกที่นี่  เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่า มีข้อมูลของสำนักฯ นั้น อยู่บ้างแล้วหรือไม่  แล้ว
     
  2. คลิกที่นี่  เพื่อเพิ่ม/แก้ไขข้อมูล (ถ้ายังไม่ได้ลอกอินเข้าระบบ ให้ลอกอินก่อน - สมัครสมาชิกที่นี่)

-  ถ้าเป็นวัด/สถานที่ ที่ยังไม่มีข้อมูลในเว็บนี้เลย ให้กรอกข้อมูล/รูป ทุกช่องรายการที่ท่านทราบ
-  ถ้าวัด/สถานที่ นั้น มีข้อมูลในเว็บนี้บ้างแล้ว ให้เพิ่ม/แก้ไข ข้อมูล/รูป ฯลฯ "เฉพาะ" ช่อง (หรือหลายช่อง)
   ที่ท่านคิดว่าควรแก้ไข/เพิ่มเติม/ปรับปรุง ข้อมูล
   แล้วใส่รหัสสำนักปฏิบัติธรรม (อยู่ด้านล่างของหน้านั้นๆ) ต่อท้ายชื่อสำนักด้วย เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

เมื่อกรอกข้อมูลในฟอร์มแล้ว คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ก่อนบันทึก เมื่อดูเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม "บันทึก"  
ทีมงานเว็บฯ จะตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนนำขึ้นเว็บฯ ต่อไป

*  สมาชิกสามารถสร้างหน้า สำหรับสำนักฯ ใหม่ ที่ยังไม่มีข้อมูลในเว็บนี้ได้
   แต่ไม่สามารถเข้าไปเพิ่มเติม/แก้ไข (edit) ข้อมูลหน้านั้นๆ ที่มีอยู่แล้วได้โดยตรง
   ทีมงานจะเป็นผู้จัดการนำข้อมูลนั้น ไปรวมกับข้อมูลเดิมเอง  เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

*  ท่านไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลที่ควรใส่ ให้เสร็จไปในคราวเดียว เพราะบางครั้งอาจต้องใช้เวลามาก 
    ท่านสามารถกลับเข้ามาเพิ่มเติม/แก้ไขข้อมูลในภายหลังได้เสมอ

*  ถ้าท่านต้องการเพิ่มเติม/แก้ไข ข้อมูลเพียงเล็กน้อย  อาจใช้วิธีเขียนในช่องแสดงความคิดเห็น ท้ายหน้าของสำนักปฏิบัติธรรมนั้นๆ ได้เลย

 


 

คำแนะนำในการเพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

ชื่อวัด/สำนัก *
ถ้าเป็นวัด ให้เขียนคำว่า "วัด" นำหน้าด้วย  ไม่ต้องเขียนว่าประจำจังหวัด เช่น "วัดราชคฤห์"
ถ้าวัดมีชือเรียกอย่างอื่นอีก ให้ใช้วงเล็บ "วัดราชคฤห์ (วัดมอญ)"

ประเภทสำนักปฏิบัติธรรม

  1. วัด-ประจำ จังหวัด (วัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด)
  2. วัด-ไม่ประจำจังหวัด (วัดที่ยังไม่ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด)
  3. สำนักสงฆ์
  4. สถานที่ปฏิบัติธรรม (นอกเหนือจาก 3 ประเภทข้างต้น ไม่มีพระอยู่ประจำ ดำเนินการโดยแม่ชี ฆราวาส)
แนวปฏิบัติ แนวปฏิบัติที่เป็น "หลักสำคัญ" ที่สุด ของสำนักฯ เช่น พุทโธ, อานาปานสติ, สัมมาอรหัง, มโนมยิทธิ, พองยุบ, นามรูป, สติเคลื่อนไหว ฯลฯ
เขียนเพียง 1 อย่าง
 * สติปัฏฐาน 4  ถือว่าครอบคลุมทุกแนวปฏิบัติอยู่แล้ว
ภาษาต่างประเทศที่ใช้สอน ภาษาต่างประเทศที่วิปัสสนาจารย์/วิทยากร สามารถใช้ในการสอน บรรยาย อบรม.
ถ้ามากกว่า 1 ภาษา ให้คั่นด้วยจุลภาค เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
ช่องแนะนำสำนักฯ
และบุคลากรที่สำคัญ

ภาพประกอบ แถวบนสุดของช่องนี้  ให้ใส่ภาพประกอบ เช่น ภาพบรรยากาศในวัด เช่น บรรยากาศวัดโดยรวม (ถ่ายจากภายนอกอาคาร) และภาพในมุมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ภาพเจ้าสำนักฯ พระวิปัสสนาจารย์  ต่อกันไม่เกิน 2 แถว 
ความกว้างรวมไม่เกินความกว้างของช่องนี้ (ไม่เกิน 880 pixel) 

เขียนแนะนำสำนักฯ   พอให้รู้จักสำนักฯ สถานที่ ในเบื้องต้น    เขียนเน้นด้านการเป็นสำนักปฏิบัติธรรม  
เนื้อที่ประมาณกี่ไร่ ?  สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร ? เป็นสาขาของวัดใดหรือไม่ ?

เขียนแนะนำบุคคลากรของสำนักฯ

  1. ครูบาอาจารย์ที่สำคัญของสำนักฯ หรือที่สำนักฯ ปฏิบัติตามแนวของท่าน
  2. เจ้าสำนัก/เจ้าอาวาส  ยังมีชีวิตอยู่
  3. พระวิปัสสนาจารย์ ที่สำคัญของสำนักฯ  และยังมีชีวิตอยู่
  4. วิทยากร ผู้สอนกัมมัฏฐาน

นามเจ้าสำนักฯ ………………………………  ฉายา ……………………………
ชื่อจริง ………………………… นามสกุล ……………………………………
ตำแหน่งเจ้าคณะปกครองสงฆ์ (ถ้ามี) …………………………………………… (เช่น เจ้าอาวาส…, เจ้าคณะตำบล… ฯลฯ)
คุณวุฒิทางโลก ………………………………… คุณวุฒิทางธรรม …………………………………

อาจารย์ใหญ่ (ฝ่ายวิปัสสนา) ……………………………………… (ไม่ต้องเขียน หากเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าสำนักฯ)
พระวิปัสสนาจารย์ที่สำคัญ ………………………………………… (ไม่ต้องเขียน หากเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าสำนักฯ)

โทร. ……………………………… โทรสาร …………………………

เจ้าสำนัก ชื่อเจ้าสำนัก
นิกาย มหานิกาย หรือ ธรรมยุต
การจัดอบรมภาวนา ภาพประกอบ  แถวบนสุดของช่องนี้  ให้ใส่ภาพประกอบ เกี่ยวกับเรื่องการอบรม การปฏิบัติธรรม ภาพต่อกันไม่เกิน 2 แถว 
ความกว้างรวมไม่เกินความกว้างของช่องนี้ (ไม่เกิน 880 pixel)

เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรม ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสำนักฯ  (ไม่จำเป็นต้องเขียนทั้งหมด)  เช่น

การเตรียมตัว

  • สิ่งที่ควรเตรียมมา เช่น กลด บาตร ชุดขาว ฯลฯ
  • สิ่งที่ห้ามนำมา เช่น โทรศัพท์  ฯลฯ
  • ค่าใช้จ่าย

ระเบียบปฏิบัติ  กิจวัตรประจำวัน   กิจกรรม

หลักสูตรการอบรม  กำหนดการอบรม  ช่วงเวลาที่จัดอบรม ตารางการอบรม 
จำนวนผู้เข้ารับการอบรมที่รับได้ต่อครั้ง, อายุ, เพศ ฯลฯ

สถานที่พัก : อยู่รวม หรือห้องแยก กุฏิเดี่ยว หรือปักกลด

อาหาร : จำนวนมื้อต่อวัน, เป็นมังสวิรัติหรือไม่ ทั้งหมดหรือตามที่ขอ

สภาพอากาศ : ร้อน เย็น ชื้น หรือร้อน/เย็นมาก ในบางช่วงของวัน  ฯลฯ

อื่นๆ  เช่น  สถานพยาบาลมียุงชุมหรือไม่,  เป็นการจัดปริวาสกรรมหรือไม่

   
[ประจำจังหวัด]  
แห่งที่ ไม่ต้องใส่
การประชุม มส. ครั้งที่ ไม่ต้องใส่
   
[ที่อยู่-ติดต่อ]  
เลขที่-ซอย-ถนน ไม่ต้องเขียนคำว่า เลขที่ บ้านเลขที่, 
คำว่า หมู่  ใช้ย่อว่า ม. (ไม่มีวรรคตาม) เช่น  12 ม.6
หมู่บ้านจัดสรร ไม่ต้องย่อ   เขียนเต็มว่า หมู่บ้าน...
บ้าน ไม่ต้องย่อ  เช่น บ้านดงเย็น
ซอย ถนน   ย่อว่า ซ.  ถ.
ตำบล  
อำเภอ ถ้าเป็นกิ่งอำเภอ เขียนตามตัวอย่างนี้  น้ำขุ่น (กิ่ง), นาคู (กิ่ง)
อำเภอเมืองต่างๆ เช่น อำเภอเมืองสิงห์บุรี ให้กรอกว่า "เมือง" ก็พอ (เพราะมีชื่อจังหวัดระบุอยู่แล้ว)
จังหวัด เลือกจากรายการ (เรียงตามตัวอักษร)
รหัส ปณ. 00000
โทร.

เขียนได้หลายรูปแบบ  ในเว็บนี้โปรดใช้เป็นแบบเดียวกัน คือ
     02-345-6789  สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ระบบเดิม 9 ตัว ในเขตกรุงเทพฯ (2-3-4)
     03-545-6789  สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ระบบเดิม 9 ตัว ในเขตต่างจังหวัด (2-3-4)
     083-545-6789 สำหรับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ 10 ตัว (3-3-4)
สรุปคือ โทรศัพท์มือถือใช้  3-3-4  นอกนั้นใช้ 2-3-4

เช่น 083-123-4567 โทรสาร 02-123-4567

เว็บไซต์ นำหน้าด้วย http://
อีเมล อีเมลทางการของสำนักฯ
เฟซบุค http://facebook.com/.....
ทวิตเตอร์ http://twitter.com/yourname
แผนที่กุกเกิล ใส่พิกัด เช่น 13.857435,100.640001  (ค้นหาพิกัดได้จาก http://maps.google.com/)
การเดินทาง แถวบนสุดของช่องนี้  ให้ใส่แผนที่เดินทางไปวัด สำนักฯ และ/หรือ แผนที่ภายในวัด
เขียนคำแนะนำการเดินทาง เช่น ทางรถยนต์ รถไฟ ฯลฯ
การติดต่อ
รูปภาพประกอบ 1) ภาพบรรยากาศในวัด เช่น บรรยากาศวัดโดยรวม (ถ่ายจากภายนอกอาคาร) และภาพในมุมอื่นๆ ที่น่าสนใจ
2) ภาพเจ้าสำนักฯ พระวิปัสสนาจารย์
3) ภาพกิจกรรมการอบรมธรรมปฏิบัติ
4) ภาพแผนที่เดินทางไปวัด
5) ภาพแผนที่ภายในวัด
รูปนำ อัพโหลดรูป  รูปนี้จะแสดงในหน้าแรกของเว็บ และหน้ารวม (อ่านวิธีการอัพโหลด/ลิงค์รูป ข้างล่าง)

 


รูปแบบการเขียน และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน บางอย่าง

  • ใช้เลขอารบิค เพื่อความชัดเจน เพราะตัวหนังสือในเว็บค่อนข้างอ่านยากกว่าในหน้ากระดาษทั่วไป
  • วงเล็บ  หลังวงเล็บปิดไม่มีวรรค  หน้าวงเล็บเปิดไม่มีวรรค  เช่น  (มหานิกาย) <-- ถูก,  ( มหานิกาย ) <-- ไม่ถูก  
  • จุลภาค (comma)   หน้าจุลภาค ไม่ต้องมีวรรค,   และหลังจุลภาค (โดยทั่วไป) เว้นเพียง 1 เคาะ  (ตัวอย่างเช่น สบู่, แปรงสีฟัน, ผ้าเช็ดตัว)

 

วิธีการอัพโหลด/ลิงค์รูป "รูปนำ" (รูปเล็กๆ แสดงในหน้าแรกของเว็บ)

อัพโหลดรูปที่มีอยู่ในเครื่องขึ้นเว็บ

  1. คลิกลิงค์ "อัพโหลด"
  2. คลิกปุ่ม "Choose file" แล้วเลือกรูปที่มีอยู่ในเครื่อง คลิกปุ่ม open
  3. คลิกปุ่ม "อัพโหลด"

ใส่รูปที่ตนเองเคยอัพโหลดมาไว้ในเว็บนี้แล้ว เพื่อนำมาแสดงอีกครั้งหนึ่ง

วิธีที่ 1  ใช้ File browser หารูปที่ตนเองเคยอัพโหลดมาไว้ในเว็บนี้แล้ว

  1. คลิกลิงค์ "File browser" จะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมา
  2. คลิกที่ชื่อรูป แล้วคลิกที่ภาพตัวอย่างที่ปรากฏขึ้นมาที่มุมขวาล่าง

วิธีที่ 2  พิมพ์หาชื่อไฟล์ของรูปที่ตนเองเคยอัพโหลดมาไว้ในเว็บนี้แล้ว จากช่อง Reference existing

  1. คลิกลิงค์ Reference existing
  2. พิมพ์ตัวอักษรหนึ่งหรือสองตัว ที่คิดว่าชื่อไฟล์นั้นๆ มีตัวอักษรนี้อยู่ 
    ชื่อไฟล์ที่มีตัวอักษรเหล่านี้อยู่ จะแสดงขึ้นมา
  3. ให้ใช้ปุ่มลูกศรลงบนคีย์บอร์ด เลื่อนลงไปเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ  กด Enter
  4. คลิกปุ่ม "Select"

ลิงค์รูปจากเว็บไซต์อื่น มาแสดงในเว็บนี้

  1. คลิกลิงค์ "Remote URL"
  2. พิมพ์ หรือ วาง (paste) URL ของรูปในช่องข้อความ
  3. คลิกปุ่ม "Transfer"

* เมื่อคลิกปุ่ม Remove จะเป็นการเอารูปออก
*  รูปใหม่จะแทนที่รูปเก่าเสมอ